สถานี่วิทยุออนไลน์ เสียงจากพวกเราชาวเชียงตุง

เจอกันทุกวันตั้งแต่เวลา ๒๐.๐๐ น. เป็นต้นไปนะครับ....

Try Relay: the free SMS and picture text app for iPhone.

ย้อนรอยแตกร้าวในพม่า

ย้อนรอยความแตกร้าวในพม่า
โดย...สุวิชา ชนิตรนันต์
โพสต์ทูเดย์ 9 พ.ย. 53

ภาพจำลอง การลงนามสนธิสัญญาปางโหลง (นั่งซ้ายไม่สวมหมวก) คือ นายพลอองซาน บิดานางซูจี
(สวมแว่นนั่งกลาง) คือ เจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้าไทใหญ่เมืองหยองห้วย อดีตประธานาธิบดีคนแรกสหภาพพม่า

สนธิสัญญาปางโหลง ต้นตอของการสู้รบของชนกลุ่มน้อย และกองกำลังต่างๆ ในพม่า ..........

การ สู้รบของพม่าในเวลานี้ มีต้นสายปลายเหตุมายาวนานกว่า 60 ปี ภายใต้การลงนามในสัญญาปางโหลง ( ป๋างโหลง : Panglong Agreement ) สนธิสัญญาที่มุ่งปลดปล่อยพม่า และชนชาติอื่นๆ ออกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่ทว่านั่นกลับกลายเป็นสนธิสัญญาอันร่องรอยไร้ค่า และดึงชนกลุ่มน้อยในพม่าสู่เส้นทางที่ไร้อิสรภาพและสันติ

พม่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 รัฐ ประกอบด้วย  พม่าแท้  ไทยใหญ่(ฉาน) คะฉิ่น(กะชิ่น) ชิน(ฉิ่น) กะเหรี่ยง ยะไข่ (อาระกัน) และ มอญ

ย้อน กลับไปเมื่อปีค.ศ. 1886 อังกฤษได้เข้ายึดครองพม่าอย่างสมบูรณ์ โดยที่อังกฤษผนวกเอาพม่าและดินแดนชนกลุ่มน้อยยิบย่อยต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว แต่ในเชิงนโยบายและแนวทางการปกครองกลับแบ่งการบริหารออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ เขตพม่าแท้ และเขตภูเขาหรือชายแดน

ทั้งนี้ อังกฤษจะเข้ามาบริหารจัดการในเขตพม่าแท้โดยตรง ส่วนในเขตภูเขาหรือชายแดนกลับมอบสิทธิให้ผู้เป็นใหญ่ในชนเผ่าต่างๆ มีอำนาจบริหารจัดการตนเองต่อไป เพียงแต่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบ และคำแนะนำที่ทางอังกฤษกำหนดไว้

เป้าหมายของอังกฤษผู้ครองอำนาจใน เวลานั้น มุ่งหวังเพียงไม่ต้องการให้เกิดการรวมตัวเป็นปึกแผ่นของอาณานิคม เพราะนั่นความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นคือการเสี่ยงที่จะเกิดการต่อต้าน ซึ่งสิ่งนั้นกลับสร้างผลร้ายรุนแรงในเวลาต่อมา เพราะเป็นการโหมสร้างกำแพงแบ่งแยกระหว่างพม่าและชนกลุ่มน้อย

การ บริหารจัดการของอังกฤษในยุคนั้นเองที่ทำให้พม่า ซึ่งเคยมีอำนาจปกครองชนกลุ่มน้อยอื่นๆ กลับมามีสถานะเท่าเทียมกัน นั่นยังไม่รวมถึงทิศทางการบริหารจัดการในรายละเอียดปลีกย่อยที่ช่วยยกอำนาจ ชนเผ่าต่างๆ ขึ้น อาทิ การยกระดับรัฐฉานขึ้นเป็นสหพันธ์รัฐฉาน

กระทั่ง หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการก่อตั้งพรรคสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ (AFPFL) ภายใต้การนำของ นายพล อองซาน บิดาของนางซูจี และสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา ซึ่ง ในวันที่ 11 ก.พ. 1947 ทั้งสองกลุ่มได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่เมืองปางโหลงว่า จะร่วมมือกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และหลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระ นั่นจึงเป็นที่มาของการลงนามสนธิสัญญาปางโหลงในวันที่ 12 ก.พ. 1947 ภายใต้ข้อตกลง 9 ข้อ โดยที่ไม่มีข้อใดๆ ที่ระบุถึง อิสรภาพหลังการได้รับเอกราช แต่อองซานเลือกที่จะระบุเรื่องดังกล่าวไว้ใน รัฐธรรมนูญของสหภาพ ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่า

ใจความใน รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวระบุว่า ชนชาติที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลงประกอบด้วย ชนชาติไทยใหญ่ ชนชาติคะฉิ่น ชนชาติชิน จะมีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระจากพม่า เมื่อครบกำหนด 10 ปี ครั้นเมื่ออองซานถูกลอบสังหาร ผู้นำพม่าคนใหม่ที่มีแนวคิดต่อต้านชนกลุ่มน้อยต่างๆ อย่างชัดเจนถึงครองอำนาจ กลับยอกย้อนไม่ยอมชนกลุ่มน้อยมีอิสระตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว

ในปี ค.ศ. 1958 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษครบ 10 ปี ทางรัฐบาลพม่าไม่ยอมให้ชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นแยกตัวออกเป็นอิสระตามที่ระบุ ไว้ในรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 นายพลเนวิน ก่อการรัฐประหาร ประกาศยุบสภา และ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่าทิ้ง เป็นที่มาของสงครามกลางเมืองในพม่าระหว่างกองทัพพม่า และกองกำลังชนกลุ่มน้อยต่างๆ

ด้านชนชาติกระเหรี่ยง ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงนามดังกล่าว โดยถือว่าตนเป็นอิสระนับตั้งแต่พ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  แต่เมื่อรัฐบาลพม่าไม่ยินยอมจึงรวมตัวก่อตั้งกองกำลังกระเหรี่ยงกู้ชาติขึ้น เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ

ทั้งนี้ ในพื้นที่แนวชายแดนไทย แต่เดิมเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงคริสต์ (The Karen National Union – KNU) กลุ่มกองกำลังที่ต่อสู้กับกลุ่มกองกำลังทหารพม่ามายาวนานกว่า 60 ปี ซึ่งในกลุ่มดังกล่าวรวมทั้งกองกำลังกลุ่มย่อย (Karen National Liberation Army – KNLA)

ระยะเวลาแห่งการสู้รบที่ยาวนาน และมีการเจรจาให้กลุ่มเคเอ็นยูเข้าร่วมกับกองทัพพม่า แต่ทางฝ่ายกะเหรี่ยงยืนกรานไม่ยอมรับข้อเสนอ กระทั่ง กลุ่มกะเหรี่ยงพุทธดีเคบีเอ (Democratic Karen Buddhist Army  DKBA) ซึ่งเป็นกลุ่มกะเหรี่ยงฝ่ายพุทธ และมีความขัดแย้งกับกลุ่มกะเหรี่ยงฝ่ายคริสต์ ยอมเข้าร่วมมือกับทางฝั่งกองทัพรัฐบาลพม่า โดยข้อมีโต้งแย้งว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกลุ่มสหภาพเคเอ็นยู

ดีเคบีเอ รับข้อเสนอจากฝั่งทหารพม่าว่า จะมีพื้นที่ปกครองตนเองส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าสุดที่พม่าร่างขึ้นนั้นระบุให้มี กองทัพเดียวในประเทศ ซึ่งกองทัพพม่าได้พยายามเข้ามาควบคุมกองกำลังกะเหรี่ยงดีเคบีเอด้วย จนเกิดการปะทะกันในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น